YVTYDEE

 -แก้ท้องผูก

-ดีท็อกสารพิษปรับสมดุลเลือด

-ชะล้างมูกที่เกาะผนังลำไส้(ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้)

-แก้ท้องอืดท้องเฟ้อจุกเสียดแน่นท้อง,อาหารไม่ย่อย

-ปลอดภัยแม้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่มีแรงเบ่ง

-ช่วยลดไขมันในเลือดไม่มีผลข้างเคียงไม่มีอาการปวดบิดลำไส้

 

สรรพคุณ

 

-ช่วยล้างสารพิษในร่างการ และชำระเมือก

 

-นำสิ่งสกปรกออกจากลำไส้

 

-ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย

 

-ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

-ช่วยลดปัญหากลิ่นตัวแรง

 

-ฃ่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด

 

-ฃ่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก ลดพุง หน้าท้องแบนราบ

 

-ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส แบบคนสุขภาพดี

 

ส่วนประกอบสำคัญ

ส้มแขก Gracinia Cambogia Extract

 


ช่วยสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต(อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล)

ไม่ให้เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย ได้เนื่องจากส้มแขกมีกรดไฮดรอกซีซิตริก(HCA)

ช่วยกระตุ้นให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาใช้ให้ใช้เป็นพลังงานทำ

ให้ไขมันที่สะสมในร่างกายส่วนต่างๆของร่างกายน้อยลง

 

สมอไทย Terminalin Extract

 

 

  สมอไทยมักได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพรเนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษ

ออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิดโดยสรรพคุณเด่นอีกข้อของไทยที่ต้องชวนกัน 

มาขายต่อก็คือประโยชน์ในการแก้โรคท้องผูกซึ่งยาทั่วไป อาจจะช่วยถ่ายท้องได้แต่

โรคท้องผูกไม่ได้แถมถ้าหยุดยาก็อาจจะกลับมาทำให้ท้องผูกหนักขึ้นโดยคนที่ท้องผูกเรื้อรัง

มักจะมีอาการร้อนในปากเปื่อยตาไม่มีแระกาย แม้จะกินน้ำผลไม้ดื่มน้ำมากๆ หรือแม้จะ

แม้ว่าออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้วแต่ก็ยังไม่หายท้องผูกซึ่งการกินสมอไทยสามารถช่วย

รักษาโรคท้องผูกเรื้อรังได้เพราะสมุนไพรที่ว่านี้ไม่เพียงเป็นแค่ยาถ่ายเท่านั้นแต่ยังช่วย

ชำระล้างลำไส้ให้สะอาดมีสมรรถภาพในการบีบตัวขับถ่ายได้คล่องตัว

 

มะขามป้อม Emblic Extract 

 

   จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งเพราะมีสารต่อต้าน

อนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมากและยังใช้เป็นยารักษา โรคบางชนิดได้อีกด้วย

เพราะมะขามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์

ต่อร่างกายเช่น วิตามินเอวิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซี่ยมธาตุฟอสฟอรัสธาตุ

เหล็กคาร์โบไฮเดรตใหญ่อาหารทำให้การลดน้ำหนักนั้นผิวไม่โทรมและมะขามป้อม

ยังช่วยในการลดคอเลสเตอรอลลดน้ำตาลลดไขมันในเลือดได้ด้วย

 

สมอพิเภก Beleric Extract

 

    ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีช่วยในเรื่องการขับถ่ายแก้ริดสีดวง

บำรุงในร่างกาย ขับเมือกมันในลำไส้อีกด้วย

 

ชะเอมเทศ Licorice

 

  ต้านอนุมูนอิสระบำรุงประสาท ระบายความร้อน

ขับพิษแก้อาการปวดท้องขับลมรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ดอกคำฝอย Safflower Extract

 

  ลดไขมันและระดับน้ำตาลในเส้นเลือดป้องกันไขมันอุดตันเส้นเลือด

บำรุงประสาท และระงับประสาทช่วยผ่อนคายสมองให้หลับสบายบำรุงโลหิต 

สลายยิ้มเลือดบำรุงหัวใจช่วยให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น 

บำรุงโลหิตประจำเดือนของผู้หญิงยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียว่านหางจรเข้ Aloe vera

เรียกอีกชื่อว่ายาดำคือเคี่ยวน้ำยางสีเหลือง

จากไปว่านหางจระเข้เป็นตำรับสมุนไพรไทยแก้โรคท้องผูก

 

ขิง Ginger

 

  จะเอาว่าเป็นยาอายุวัฒนชั้นยอดช่วยลดความอ้วนลดระดับไขมัน

คลอเรสเตอรอล ด้วยการดูดซึม คลอเรสเตอรอล

และจากลำไส้แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระกานพลู Syzygium aromaticum

รักษาอาการท้องอืดแน่นจุกเสียดแก้อาการท่าทาง

4 พิการทำให้การขับถ่ายเป็นปกติช่วยเผาผลาญแคลอรี่

 

 

ใบรับรองจาก อย

 

 

 

 

 

อาการของท้องผูก

  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
  • อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
  • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
  • ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
  • ท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง

ผู้ที่มีอาการในข้างต้น 2-3 ข้อ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน อาการท้องผูกธรรมดาหรือที่เรียกว่าท้องผูกฉับพลันอาจพัฒนากลายเป็นท้องผูกเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากพบความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยหาสาเหตุไม่ได้ แม้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตแล้ว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ถ่ายมีเลือดปน ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่อาจซ่อนความผิดปกติไว้   

สาเหตุของอาการท้องผูก

  ท้องผูกเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างการย่อยอาหาร ทำให้ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากระบบทางเดินอาหารได้อย่างปกติ จึงเกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจนมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ อุจจาระจึงมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ถ่ายออกได้ลำบาก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกอาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น

การใช้ยา การรับประทานยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูกขึ้นได้ เช่น ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของสารประกอบอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาอาการชัก อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยาระงับปวดชนิดโอปิออยด์ ยาขับปัสสาวะ

สภาวะทางร่างกายที่ส่งผลต่อฮอร์โมน ฮอร์โมนช่วยให้ของเหลวและการทำงานภายในร่างกายเกิดความสมดุล ดังนั้น  การเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือสภาวะบางอย่างที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลในการทำงาน สามารถนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ โรคลำไส้แปรปรวน

โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ความผิดปกติจากโรคทางด้านระบบประสาทสามารถส่งผลต่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จึงอาจส่งผลให้เกิดการตกค้างของอุจจาระภายในระบบทางเดินอาหารและอาจนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอมเอส โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดในสมอง

การอุดตันภายในลำไส้ สภาวะบางอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่หรือบริเวณทวารหนักอาจทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวออกจากระบบทางเดินอาหารได้ลำบากหรือติดค้างอยู่ภายในลำไส้ เช่น  แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างหรือปัจจัยบางประการอาจเอื้อต่อการเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายมากขึ้น เช่น

  • การอั้นอุจจาระ
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ความเครียดหรือความกดดัน
  • ปัญหาทางด้านจิตใจ
  • มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
  • อยู่ในวัยผู้สูงอายุ

การวินิจฉัยอาการท้องผูก

  แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยอาการท้องผูกได้โดยการสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย การใช้ชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการขับถ่าย การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อประเมินอาการในขั้นต้น แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อเป็นการยืนยันผลการตรวจร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการชักประวัติ และค้นหาสาเหตุของอาการท้องผูกที่ยังตรวจไม่พบดังนี้

  • การตรวจทางทวารหนัก เป็นการตรวจค้นหาโรคที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องผูกขึ้น โดยแพทย์จะสวมถุงมือที่มีการเคลือบสารหล่อลื่น จากนั้นจึงใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในรูทวารหนัก เพื่อคลำหาว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
  • การตรวจเลือด เป็นการตรวจที่ช่วยให้แพทย์สามารถค้นหาได้ว่าอาการท้องผูกเกิดมาจากสาเหตุทั่วไปหรือไม่ โดยเฉพาะการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือสูงเกินไป
  • การเอกซเรย์ช่องท้อง เป็นการถ่ายภาพทางรังสีในบริเวณลำไส้ส่วนปลายและทวารหนักของผู้ป่วย โดยมีการสวนทวารด้วยแป้งแบเรียมที่เป็นสารทึบรังสี เพื่อดูการเคลื่อนตัวของอุจจาระผ่านเครื่องเอกซเรย์
  • การตรวจการทำงานของลำไส้ส่วนปลายและกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก เป็นการตรวจหาความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนควบคุมการขับถ่าย โดยการกลืนแคปซูลที่มีแถบทึบแสง ซึ่งสามารถมองเห็นได้เมื่อมีการเอกซเรย์ แล้วดูการเคลื่อนตัวจากการตรวจภาพเอกซเรย์อย่างต่อเนื่อง
  • การส่องกล้องตรวจ เป็นการตรวจดูการทำงานของลำไส้ใหญ่บางส่วน (Sigmoidoscopy) หรือลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) ด้วยกล้องเฉพาะทางการแพทย์ ซึ่งจะถูกสอดเข้าไปทางทวารหนัก  
  • การตรวจวัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก แพทย์จะมีการสอดท่อที่มีบอลลูนขนาดเล็กติดอยู่ที่ปลายอุปกรณ์เข้าไปทางทวารหนัก แล้วให้ผู้ป่วยพยายามใช้แรงเบ่งออกมา ซึ่งเครื่องจะสามารถวัดแรงดันหรือการบีบตัว เพื่อตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณทวารหนัก

 

การป้องกันอาการท้องผูก

  อาการท้องผูกป้องกันได้โดยดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอและป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ ยกเว้นในบางกรณีที่การดื่มน้ำมีผลต่อสภาวะของร่างกายหรือโรคที่เป็นในขณะนั้น รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น

  การรับประทานอาหารควรเลือกอาหารประเภทที่มีกากใยมากขึ้น (ประมาณ 30 กรัมต่อวัน) โดยเฉพาะผักและผลไม้ โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการรับประทานขึ้นทีละน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด และในบางรายอาจเกิดปัญหาท้องผูกจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย

นอกจากนี้ ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ตรงเวลา ไม่อั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น และหากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้อาการท้องผูกกลายเป็นอาการเรื้อรังหรือรุนแรงมากขึ้น

 

Visitors: 58,788