บทความโรคไต

โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติจึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร และ/หรือธาตุอาหารส่วนเกินที่ปกติร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะโดยผ่านการทำงานของไต ซึ่งเมื่อเกิดโรคไต ไตจะทำงานได้ลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการเหล่านั้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนในที่สุดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย ถ้าไม่ได้รับการล้างไต หรือไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม

โรคไต เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่งทั่วโลก พบเกิดได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจน ถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

โรคไต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

โรคไตที่พบได้บ่อย คือ โรคไตเรื้อรัง (ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง โรคไต ทั่วไปจึงมักหมายถึง โรคไตเรื้อรัง) ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ และ/หรือ การขาดเลือดของเซลล์ไต ส่วนโรคอื่นๆที่พบได้ เช่น โรคไตจาก โรคนิ่วในไต โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคถุงน้ำหลายๆถุงในไตทั้งสองข้าง (Polycystic kidney disease) และโรคมะเร็งไต ส่วนโรคไตเฉียบพลันซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น จากไตขาดเลือดทันที (เช่น การเสียเลือดมาก) ภาวะขาดน้ำ หรือ อุบัติเหตุที่ไต จากแพ้ยาบางชนิด (เช่น จากยาปฏิชีวนะบางชนิด หรือการแพ้สารทึบแสง/สี ที่ฉีดในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอ)

โรคไตมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

โรคไตมีอาการอย่างไร?

ในโรคไตเฉียบพลัน อาการสำคัญ คือ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติมาก หรือไม่มีปัสสาวะ

ในโรคไตเรื้อรังเมื่อเริ่มเป็น จะไม่มีอาการ จะมีอาการต่อเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ซึ่งเป็นสา เหตุให้เมื่อผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคไต จึงมักป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่รุนแรงแล้ว อาการที่พบได้บ่อยจากโรคไตเรื้อรัง คือ

แพทย์วินิจฉัยโรคไตได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคไตได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและในปัจจุ บัน ประวัติการใช้ยา การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือดดูการทำงานของไต (เช่น สาร Creatinine ย่อว่า Cr, Blood urea nitrogen ย่อว่า BUN, และ Glomerular filtration rate ย่อว่า GFR ) และของเกลือแร่ต่างๆ (เช่น Sodium, PotassiumCalcium, และ Phosphorus) และอาจมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผิดปกติของผู้ป่วย สิ่งผิด ปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพไตด้วย อัลตราซาวด์ เอกซ เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อจากไตเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคไตอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคไต คือ

โรคไตรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โรคไต จัดเป็นโรครุนแรง ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง แต่อย่างไรก็ตาม หลายสาเหตุที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ เช่น จากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคอ้วน เป็นต้น

เมื่อตรวจพบโรคแต่เนิ่นๆ ไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนไตวายเรื้อรัง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่การรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยชะลอการตายของเซลล์ไต ซึ่งจะช่วยชะ ลอภาวะไตวายได้

เมื่อเป็นโรคไตดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ ควรพบแพทย์เสมอ และเมื่อทราบแล้วว่าตน เองเป็นโรคไต การดูแลตนเอง คือ

มีการตรวจคัดกรองโรคไตไหม?

การตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ยังไม่มีอาการ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี โดยเริ่มได้ตั้ง แต่อายุ 15 ถึง 18 ปี ด้วยการตรวจร่างกายกับแพทย์ ตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดดูการทำงานของไต หรือการตรวจต่างๆตามแพทย์แนะนำ

ป้องกันโรคไตได้อย่างไร?

การป้องกันโรคไต คือ การกินอาหารจืด จำกัดการกินอาหารเค็ม และการหลีกเลี่ยงสา เหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆอื่นๆที่ป้องกันได้ที่กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญ คือ การป้องกัน

ขอขอบคุณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

Visitors: 60,762