บทความโรคผิวหนัง

ผิวหนัง (Skin) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มทุกส่วนของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า หนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นในซึ่งเรียกว่า หนังแท้ (Dermis)

ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อที่บอบบางมีความหนาตั้งแต่ 0.05 มิลลิเมตร (มม.) ไปจนถึง 1.5 มม. ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นผิวหนังในส่วนใดของร่างกาย ซึ่งผิวหนังที่บางที่สุดคือ หนังตา ส่วนผิวหนังที่หนาที่สุดคือ ผิวหนังส่วนส้นเท้า

หนังกำพร้า ประกอบด้วยเซลล์ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ชนิดที่ผลัดตัวลอกได้เมื่อเป็นเซลล์ตัวแก่ คือ เซลล์ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) นอกจากนั้นยังประกอบด้วยเซลล์สำคัญอีกสองชนิดคือ เซลล์ชนิดเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องผิวหนังจากแสงแดด โดยมีเม็ดสีเพื่อดูดซับรังสียูวี (UV radiation) และเซลล์ชนิดเมอร์เคล (Merkel cell) ซึ่งเป็นเซลล์รับสัมผัสจากการกดเบียดทับหรือการสัมผัสอย่างเบาๆ ทั้งนี้เซลล์ทั้งสามชนิดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ตามชนิดต่างๆของเซลล์เหล่านั้นคือ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (เกิดจากเซลล์ชนิดเมลาโนไซต์) ที่มีความรุนแรงโรคสูง ชนิดเมอร์เคล (เกิดจากเซลล์ชนิดเมอร์เคล) ที่มีความรุน แรงโรคปานกลาง และชนิดเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ซึ่งมีความรุนแรงโรคต่ำกว่ามะเร็งทั้งสองชนิดที่กล่าวแล้ว

นอกจากนั้นในหนังกำพร้ายังมีเซลล์ชนิดช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่อผิวหนังและต่อร่างกายด้วยเรียกว่า เซลล์ลานเกอร์ฮานส์ (Langerhans cell) หนังแท้ ประกอบด้วยเซลล์สำคัญคือ เซลล์ในกลุ่มเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) เช่น เซลล์ไฟ โบรบลาส (Fibroblast) ซึ่งสร้างคอลลาเจนและเพื่อคงการยืดหยุ่น ความแข็งแรง และรูปทรงของผิวหนัง นอกจากนั้นยังประกอบด้วยหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และเส้นประสาทต่างๆ

ในหนังแท้ยังมีต่อมต่างๆหลายชนิดเพื่อสร้างไขมัน สร้างเหงื่อ สร้างกลิ่น และสร้างขน เพื่อการหล่อเลี้ยง ปกป้องผิวหนัง ช่วยผิวหนังในการทำหน้าที่ต่างๆ และช่วยร่างกายขับของเสียออกทางเหงื่อ

ผิวหนังมีหน้าที่อย่างไร?

โรคผิวหนัง

ผิวหนังมีหน้าที่หลายอย่างคือ

  • ปกป้องเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในทั้งหมดจากการไม่ดูดซึมสารแปลกปลอมที่ร่างกายไม่ต้องการหรือที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ช่วยคงรูปร่างของร่างกาย
  • ปกป้องร่างกายจากแสงยูวีจากแสงแดด
  • ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่ จากการขับเหงื่อและจากการขยายหรือ หดตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยร่างกายกำจัดของเสียออกทางเหงื่อ
  • ช่วยร่างกายสร้างวิตามิน ดี โดยสังเคราะห์จากแสงแดด
  • รับความรู้สึกต่างๆเช่น หนาว ร้อน เจ็บ การกระแทก
  • ป้องกันร่างกายจากการรุกรานของเชื้อโรคและสารต่างๆ และยังสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคทั้งของผิวหนังเองและของร่างกาย

โรคผิวหนังมีโรคอะไรบ้าง?

ผิวหนังประกอบด้วยเซลล์หลากหลายชนิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งเซลล์ทุกชนิดสามารถเกิดเป็นโรคได้ทั้งหมดตั้งแต่โรคที่มีความรุนแรงต่ำเช่น เป็นสิว ไปจนถึงโรคความรุนแรงสูงเช่น โรคมะเร็ง

โดยทั่วไปแบ่งโรคผิวหนังเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามสาเหตุหลักคือ

อนึ่ง บาดแผลจากอุบัติเหตุเช่น มีดบาดหรือถูกยิง ไม่จัดเป็นโรคผิวหนัง แต่จัดเป็นผู้ป่วยด้านศัลยกรรม

โรคผิวหนังมีสาเหตุจากอะไร?

โรคผิวหนังเกิดได้จากมากมายหลายสาเหตุที่พบบ่อยคือ

โรคผิวหนังมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคผิวหนังขึ้นกับสาเหตุที่อาจพบได้เช่น ผิวหนังขึ้นผื่น เป็นจุดหรือเป็นดวง เป็นปื้น เป็นผื่นนูน เป็นแผ่น เป็นตุ่มเนื้อ เป็นตุ่มน้ำ เป็นตุ่มเลือด เป็นตุ่มพอง เป็นตุ่มหนอง เป็นติ่งเนื้อ เป็นถุงน้ำ เป็นแผล เป็นแผลเปื่อย เป็นแผลแตก เป็นแผลรอยแยก ภาวะหลอดเลือดฝอยพอง ปาน ไฝ หูด (โรคหูดก้อนเนื้อ และ/หรือแผลเรื้อรัง ทั้งนี้อาจร่วมกับอาการบวม แดง คัน และ/หรือสีของผิวหนังผิดปกติเช่น สีคล้ำ สีออกแดง/ชมพู หรือสีออกม่วง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละสาเหตุ

แพทย์วินิจฉัยโรคผิวหนังได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคผิวหนังได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจความผิดปกติของผิวหนัง ทั้งลักษณะผื่นหรือตุ่มหรือก้อนเนื้อ รูปร่าง สี และตำแหน่งที่เกิดโรค รวมทั้งการสอบถามถึงอาการร่วมต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจมีการขูดผิวหนังตรวจส่องกล้องจุลทรรศน์ดูการติดเชื้อ หรือดูลักษณะของเซลล์ (การตรวจทางเซลล์วิทยา) หรือการเพาะเชื้อ อาจมีการตรวจเลือดตามสาเหตุที่แพทย์สงสัยเช่น ผื่นในโรคเอดส์ และบางครั้งอาจตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคผิวหนังได้อย่างไร?

การรักษาโรคผิวหนังขึ้นกับสาเหตุเช่น การรักษาความสะอาดเมื่อเกิดจากสิว การกินยา/ทายาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากติดเชื้อ และการรักษาด้วยการผ่าตัดเมื่อเป็นโรคมะเร็ง

โรคผิวหนังรุนแรงไหม?

ความรุนแรงของโรคผิวหนังขึ้นกับสาเหตุเช่น ไม่รุนแรงเมื่อเป็นสิว หรือรุนแรงมากเมื่อเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา

ดูแลผิวหนังอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลผิวหนังโดยทั่วไปและการพบแพทย์คือ

  • รักษาความสะอาดผิวหนังเสมอโดยการใช้สบู่ที่อ่อนโยน
  • ปกป้องผิวหนังจากแสงแดดเมื่อต้องโดนแดดจัดหรือทำงานกลางแจ้งเช่น ใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวกปีกกว้าง และ/หรือทายากันแดด
  • กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน เพิ่มผักและผลไม้ เพื่อชะลอผิวเสื่อมก่อนวัย
  • เลือกเครื่องสำอางและเครื่องใช้ต่างๆชนิดที่อ่อนโยนต่อผิวเช่น ครีมบำรุงผิว น้ำยาโกนหนวด รวมทั้งยาสีฟัน และทิชชูทำความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด ผิวจะแห้งมาก (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง ผิวแห้ง) ผิวเสื่อมได้ง่าย
  • เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ทำลายเซลล์ผิวหนังและยังเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบ ผิวหนังจึงเสื่อมง่ายจากขาดเลือด
  • เรียนรู้ชีวิต ควบคุมความเครียด เพราะเป็นสาเหตุของสิวและผิวหน้าย่นได้ก่อนวัย
  • หลีกเลี่ยงสารที่ก่ออาการแพ้ต่อผิวหนัง
  • รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนัง
  • สังเกตผิวหนังตนเองเสมอเช่น ขณะอาบน้ำและแต่งตัว เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรพบแพทย์
  • การพบแพทย์เมื่อผิวหนังผิดปกติไปจากเดิมและไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เสมออาจเป็นแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์โรคผิวหนังก็ได้ หรือเมื่อมีความกังวลในการผิด ปกติของผิวหนัง ทั้งนี้เพราะโรคผิวหนังเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุดังกล่าวแล้วตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงโรครุนแรงอย่างโรคมะเร็ง

อนึ่ง อาการสำคัญของมะเร็งผิวหนังคือ มีแผลเรื้อรัง แผลไม่หายหลังจากดูแลตนเองภาย ใน 2 สัปดาห์ หรือมีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือเป็นไฝ/ปาน โตเร็ว ขอบไม่เรียบ ฝังตัวลึกในผิวหนัง และแตกเป็นแผลเลือดออกเรื้อรัง ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์เสมอ

ป้องกันโรคผิวหนังได้อย่างไร?

วิธีป้องกันโรคผิวหนังเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตนเองและการป้องกันมะเร็งผิวหนัง ซึ่งที่สำคัญคือ

ขอขอบคุณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

Visitors: 60,762