บทความหูคอจมูก

โรคภูมิแพ้หูคอจมูกเกิดจากอะไร? เกิดได้อย่างไร?

โรคภูมิแพ้ (Allergy) ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ "โรคภูมิแพ้หูคอจมูก” (ENT and Allergy, ENT ย่อมาจาก Ear Nose Throat) เท่านั้น โดยโรคภูมิแพ้ต่างๆจัดเป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับโรค เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หูคอจมูก ร่างกายจะมีการตอบสนองที่รุนแรงผิดปกติที่เรียกว่า ภาวะไวเกิน (Hypersensitive) ต่อสารหลากหลายชนิดที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสารเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดย

  • ปนมากับอากาศที่เราหายใจเช่น ฝุ่น มูลของตัวไร แบคทีเรีย เชื้อรา เกสรดอกไม้ และอื่นๆ
  • ปนมากับอาหารที่รับประทาน และ/หรือ
  • อาจมาสัมผัสกับตัวเราโดยตรง

เมื่อสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายสร้างสารหลายชนิดเช่น สารฮีสตามีน (Histamine) สาร Leukotrienes และอื่นๆ ซึ่งสารเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยแสดงอาการแพ้ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะในหลายๆระบบพร้อมๆกันหรือระบบใดระบบหนึ่งก็ได้ขึ้นกับการตอบสนองของร่างกายแต่ละคนเช่น ระบบหูคอจมูก ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และ /หรือผิวหนัง เป็นต้น

โรคภูมิแพ้หูคอจมูกมีอาการอย่างไร?จอประสาทตาเสื่อม

จุดภาพชัด (Macula) เป็นจุดที่อยู่ตรงกลางของจอตา (Retina) ซึ่งมีเซลล์ประสาทรับรู้แสงและสี (Cones) จำนวนมาก จึงทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน แต่ในผู้สูงอายุอาจเกิดภาวะเสื่อมของจุดภาพชัดนี้ได้ ซึ่งจะทำให้สายตาพิการอย่างถาวร

โรคจุดภาพชัดเสื่อมตามวัยโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม หรือที่มักเรียกว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมหรือ โรคจอตาเสื่อม” (Aged-related macular degeneration – AMD) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของจอประสาทตาในบริเวณจุดภาพชัด (Macula) เป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยมีสายตาเลือนรางหรือตาบอด โดยเฉพาะตรงกลางของภาพ (แต่ยังคงมองเห็นขอบด้านข้างของภาพได้ปกติ) ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาขึ้นอย่างช้า ๆ จนแทบไม่ทันสังเกตหรือไม่รู้สึกว่าผิดปกติ ในขณะที่บางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาอย่างรวดเร็วก็ได้

โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) เป็นโรคที่เริ่มพบได้ในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในปัจจุบันประชากรโลกมีอายุเพิ่มขึ้น จึงพบว่า โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีการประเมินว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดได้มากกว่าครึ่ง (54%) และคาดการณ์ว่ามีความชุกของโรคนี้อยู่ที่ประมาณ 1.2-1.8% ในประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

โรคภูมิแพ้หูคอจมูก

1. ถ้าเกิดโรคภูมิแพ้หูคอจมูกในส่วนระบบทางเดินหายใจตอนบน จะส่งผลให้อาจเกิดอาการดังนี้

2. ถ้าเกิดโรคภูมิแพ้หูคอจมูกในส่วนหลอดลม อาจจะทำให้มีอาการดังนี้

3. ถ้าเกิดโรคภูมิแพ้กับผิวหนังร่วมด้วย ผิวหนังอาจจะมีอาการดังนี้

4. ถ้าโรคเกิดกับทางเดินอาหารร่วมด้วย อาจจะมีอาการจากทางเดินอาหารได้ดังนี้

5. ถ้าโรคเกิดกับตาร่วมด้วย อาการที่อาจพบร่วมด้วยคือ

อนึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณคิ้ว รอบกระบอกตา กกหู และบริเวณท้ายทอย (Sinus headache) ร่วมด้วยได้

โรคภูมิแพ้หูคอจมูกมีธรรมชาติของโรคเป็นอย่างไร?

ธรรมชาติของโรคภูมิแพ้หูคอจมูกคือ ไม่ใช่โรคติดต่อแต่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อและ /หรือแม่ไปสู่ลูกได้ (Multiple gene defect) และปัจจุบันเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด การรักษาของแพทย์หวังผลเพียง

ถ้าผู้ป่วยเกิดมีอาการเรื้อรังดังกล่าวในหัวข้อ “อาการ” อยู่นานๆไม่รักษาอาจเกิดหูอื้อจนการได้ยินสูญเสียไปอย่างถาวร (Serous-Adhesive otitis media) หรือเกิดมีเนื้องอกในจมูก (Nasal polyp) หรือเกิดไซนัสอักเสบได้ (ไซนัสอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกันเช่น ผนังกั้นโพรงจมูกคด, เนื้องอกในจมูก และ/หรือในไซนัสมีสิ่งแปลกปลอมในจมูกเช่น เมล็ดผลไม้, มีรากฟันบนอักเสบ และอื่นๆ) และ/หรือผู้ป่วยอาจมีอาการหอบหืด/โรคหืดอย่างรุนแรงจนเกิดอันตรายได้

ควบคุมและป้องกันโรคภูมิแพ้หูคอจมูกได้อย่างไร?

ควบคุมและป้องกันโรคภูมิแพ้หูคอจมูกได้โดย

1. หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ/สารต่างๆที่ผู้ป่วยแพ้โดยผู้ป่วยควรต้องสังเกตทุกๆอย่างกับอาการที่เกิดขึ้นเสมอเช่น อาหารและเครื่องดื่มที่บริโภค เครื่องใช้ต่างๆเช่น สบู่ น้ำหอม ผงซักฟอก

2. ขจัดหรือหลีกเลี่ยงมลภาวะต่างๆเช่น การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ ควันรถ ยาฆ่าแมลง

3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องผลิตโอโซน เครื่องนอนต่างๆเช่น ควรใช้ที่นอน-หมอนยางพารา ผ้าปูที่นอน-ปลอกหมอนควรใช้ชนิดที่ป้องกันไรฝุ่นได้ เป็นต้น

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

6. ควรทดสอบสารภูมิแพ้เพื่อการฉีดวัคซีน (Hyposensitization) เพื่อกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิ คุ้มกันต่อสารที่ผู้ป่วยแพ้ ทั้งนี้โดยทั่วไปแพทย์โรคภูมิแพ้มักให้คำแนะนำในเรื่องนี้อยู่แล้ว

รักษาโรคภูมิแพ้หูคอจมูกอย่างไร?

รักษาโรคภูมิแพ้หูคอจมูกโดย

  • ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่หายใจเข้าไปให้เหมาะสมก่อนหายใจผ่านช่องคอ และกล่องเสียงสู่ปอด

สรุป

การควบคุมโรคภูมิแพ้ซึ่งรวมทั้งโรคภูมิแพ้หูคอจมูกนั้น แพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้พิจารณาจากอาการผู้ป่วย การตรวจร่างกายและสิ่งผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบว่าสมควรใช้วิธีใด อาจเพียงวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกันเพื่อป้องกันและรักษาไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือเกิดโรค/ภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงต่างๆ ทั้งนี้ความสำเร็จในการควบคุมและรักษาโรคที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นกับว่า ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์พยาบาลได้สม่ำเสมอหรือไม่

 

ขอขอบคุณ

พันเอก นายแพทย์ ณฐพล จันทรอัมพร
แพทย์ หู คอ จมูก

Visitors: 58,790